ประวัติหมู่บ้านแม่บวนเหนือ

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน

บ้านแม่บวนเหนือ หมู่ 6 ต.โปงทุ่ง เดิมปี ๒๕๕๐ ได้มีราษฎร ย้ายมาจากบ้านแม่หว่าง นาทราย ๓ ครอบครัว ซึ่งผู้ริเริ่มบุกเบิกนั้น ตามที่ได้ สอบถามนายซิว ปูนึก นั้นได้เล่าให้ฟังว่า นายปัน เป็นผู้เริ่มเข้ามาอยู่อาศัยก่อน ตามมาด้วยนายหล้า นายคําผอ นายดอก และนายผัด เนื่องมาจากขาดที่ทํากิน ภายหลังจากที่ได้ออกล่าสัตว์ โดยได้ผ่านมาทางนี้พบที่ดินดังกล่าว คือบ้าน แม่บวนในปัจจุบันนี้เห็นว่ามีความอุดมสมบูรณ์ จึงได้ตัดสินใจมาปักหลัก ปักฐานสร้างบ้านเรือนขึ้น โดยเริ่มแรกได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ด้วยกันไม่กี่ครอบครัว ครั้นต่อมาจึงมาตั้งรกรากได้ 4 ปี เมื่อมีการติดต่อกับญาติพี่น้อง และ มิตรสหาย จึงได้ชักชวนกันมาอยู่ด้วยกัน ซึ่งมาจาก บ้านเกาะหลวง บ้านงิ้วสูง บ้านดอยเต่า บ้านห้วยหละ ตําบลป่าพูล อําเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลําพูน ได้เดินทางมา ๕ ครอบครัว โดยใช้เวลา ๒ วัน ๒ คืน

คืนแรกของการเดินทาง ได้แวะพักที่บ้านปาง และคืนที่ ๒ พักที่บ้านแม่ตื่น จึงเดินทางถึงสถานที่ดังกล่าว เมื่อมาถึงได้ปักหลักปักฐาน อยู่มาได้ระยะหนึ่ง อีก ๓ ครอบครัวได้ย้ายกลับบ้านเดิม เหลืออีก ๒ ครอบครัว คือครอบครัวนายจันทร์ ซึ่งเป็นบิดาของนายซิว ปูนึก และครอบครัวนางหล้า และมาจาก อําเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ซึ่งเป็นต้นตระกูลค้างคีรี รวมกันได้ประมาณ ๒๐ กว่าหลังคา สมัยนั้น การเดินทางต้องเดินด้วยเท้า สภาพป่าอุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นไม้ น้ํา สัตว์ป่า หลายชนิด บ้านแม่บวนสมัยนั้นถนนหนทางเป็นทางลูกรัง ต้องใช้ล้อเกวียน ลากข้าว ซึ่งอําเภอดอยเต่า ยังเป็นอําเภอฮอด และต่อมาเป็นกิ่งอําเภอดอยเต่า

บ้านแม่บวนยังรวมกับบ้านแม่ตูบ และยังอยู่ในตําบลดอยเต่า ก่อนจะมาอยู่ ในตําบลโปงทุ่งในปัจจุบัน มีผู้ใหญ่บ้านอยู่บ้านแม่ตูบ (แม่บวนเดิม) และมี ผู้ช่วยอยู่บ้านแม่บวน ในปี ๒๕๑๐ ผู้ใหญ่บ้านคนแรก ชื่อ นายหม่อง ซางคํา มีจํานวนเพื่อนบ้าน ๕๐ กว่าหลังคาเรือน และครองตําแหน่ง ประมาณ ๒๐ ปี ได้เกษียณอายุ คนที่ ๒ คือนายสมนึก คําแก้ว ครองตําแหน่ง ๗ ปี คนที่ ๓ นาย ชางคํา ครองตําแหน่ง ๕ ปี คนที่ ๔ คือ นายประสิทธิ์ ที่ขอ ครองตําแหน่ง ๘ ปี คนปัจจุบัน คือ นาย ซางคํา ภายหลังเริ่มมีจํานวนประชากรและ บ้านเรือนเพิ่มขึ้น ซึ่งบ้านแม่บวนที่ได้กล่าวมานี้ ได้มีประชากรอีกกลุ่มหนึ่ง มาทําอาชีพตัดไม้และทําสวน ซึ่งมาจากบ้านดอยเต่า บ้านแม่ตื่น บ้านป่าไผ่ อําเภอลี้ และมาจากบ้านศรีชุม อําเภอป่าซางบ้าง ภายหลังประชากรได้เพิ่มขึ้น เริ่มมีการจัดตั้งชุมชนขึ้นอีกแห่งหนึ่งอยู่ทางตอนใต้ของน้ําแม่บวน ซึ่งปัจจุบันนี้ คือ บ้านแม่บวนใต้ ซึ่งมีรายนามผู้ก่อตั้งดังต่อไปนี้ ๑. นายเจอ ๒. นายแบ่ง ๓. นายหมู ๔. นายสม ๕. นายสูง 5. นายดี ๗. พ่อหลวงจู

หนังสือประวัติบ้านแม่บวน

บ้านแม่บวนนั้นหากสันนิษฐานตามชื่อหมู่บ้าน ผู้หลักผู้ใหญ่ได้เล่า ให้ฟังว่า มาจาก ๓ แหล่งด้วยกัน คือ
๑. คาดว่ามาจากตัวบ้วน เรียกตามภาษาเหนือ เป็นสัตว์ที่ชอบอาศัย อยู่ตามลําธารและกินปลาเป็นอาหาร ซึ่งภาษากลางเรียกว่า นาคน้ํา ซึ่งเมื่อก่อนนั้นเวลาชาวบ้านไปหาฟื้นและตักน้ําที่ลําธารมักจะพบอยู่บ่อยๆ

๒. มาจากน้ําพุ ภาษาภาคเหนือหรือภาษาถิ่น เรียกว่าน้ําบ้วน น้ําที่ ประทขึ้นจากพื้นดิน ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า น้ําบ้วนจนชินปาก และเรียกกัน เรื่อยมา จนกลายมาเป็น บ้านแม่บวน จนถึงปัจจุบันนี้

๓. มาจาก ต้นบอน เรียกว่า บ้านแม่บอน เพราะมีหนองบอนอยู่มาก ที่ออกตามลําห้วย ซึ่งสามารถนํามาปรุงเป็นอาหารได้ด้วย และสามารถ ใช้เลี้ยงสัตว์ได้อีกเช่นกัน ชาวบ้านที่เลี้ยงหมูมักจะไปเก็บแล้วนํามาหั่นเป็นชิ้นๆ แล้วนําไปต้มผสมรอ่อนเป็นอาหารหมู ซึ่งลักษณะของลําต้นบอนดังได้กล่าว ข้างต้น ซึ่งมีลักษณะพิเศษ คือ มีลําต้นที่ใหญ่กว่าปกติ ชาวบ้านเรียกว่าบอน หรือแม่บอนหลวง เมื่อเรียกแม่บอนมาเรื่อย ๆ จนเป็นที่รู้กันทั่วถึงปัจจุบันนี้ ว่า บ้านแม่บวน

ภูมิศาสตร์

– บ้านแม่บวนมีลักษณะเป็นแอ่ง มีภูเขาล้อมรอบ โดยสภาพป่าทั่วไป เป็นป่าโปร่ง สภาพป่ายังคงอุดมสมบูรณ์ มีลําห้วยแม่บวน และลําห้วยหก ที่หล่อเลี้ยงให้ความชุ่มชื้นแก่การเกษตรของบ้านแม่บวน ลําห้วยแม่บวน น้ําจะไหลไปบรรจบกับลําห้วยแม่ตูบ และลําห้วยหกจะไหลไปบรรจบกับลําห้วยม่าน โดยมีลําห้วยหลัก ๒ สาย คือ ลําห้วยแม่ตูบและลําห้วยม่วง ๒ สายนี้ จะไหลลงสู่ อ่างเก็บน้ําแม่ตูบ ซึ่งเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ซึ่งเป็นแหล่งน้ําที่สําคัญของอําเภอ ดอยเต่า ซึ่งใช้ในภาคการเกษตร

ที่ตั้ง
บ้านแม่บวน ตําบลโปงทุ่ง อําเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ ระหว่างเส้นรุ้งที่ ๑๓ องศา ๔) ลิปดาเหนือ ถึงเส้นรุ้งที่ ๑๘ องศา ๐๕ ลิปดาเหนือ และเส้นแวง ที่ ๕๘ องศา ๒๕ ลิปดา ตะวันออก ถึงเส้นแวง ที่ ๕๘ องศา ๕๒ ลิปดา ตะวันออก อยู่ห่างจากตัวอําเภอดอยเต่าประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ ๑๕๐ กิโลเมตร มีถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ใช้สัญจรไปมาภายในหมู่บ้าน และถนนลาดยางสัญจรไปมาระหว่างหมู่บ้าน ตําบล และใช้ถนนลูกรังสัญจรเข้าพื้นที่การเกษตร

เขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดกับ หมู่บ้านแม่ตูบ ทิศใต้ ติดกับ หมู่บ้านกองวะ ทิศตะวันออก ติดกับ หมู่บ้านแม่เทย ต.แม่ตื่น อ.ลี้ จ.ลําพน
ทิศตะวันตก ติดกับ หมู่บ้านสันบ่อเย็น ต.ดอยเต่า าดพื้นที่ทั้งหมด
พื้นที่สําหรับเป็นที่อยู่อาศัย ๘๐ ไร่ พื้นที่สําหรับทําการเกษตร ๓,๕๐๐ ไร่ พื้นที่สําหรับทํานา ๕๐ ไร่ พื้นที่สําหรับทําไร่ ๕๘๐ ไร่
พื้นที่สําหรับทําสวน ๒,๕๕๗๐ ไร่

ภูมิอากาศ
บ้านแม่บวนโดยทั่วไปสภาพป่ายังคงอุดมสมบูรณ์ จึงมีสภาพ ภูมิอากาศค่อนค้างเย็น ฤดูฝน และหนาว มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี ๒๖ องศา เซลเซียส โดยมีอุณหภูมิสูงสุด ๔๐ องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ําสุด ๑๕ องศาเซลเซียส แบ่งภูมิอากาศได้เป็น ๓ ฤดู
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ กลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนกันยายน
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม

การปกครอง
บ้านแม่บวนได้แบ่งออกเป็น ๒ หมู่บ้าน คือ บ้านแม่บวนเหนือ หมู่ ๔ และบ้านแม่บวนใต้ หมู่ ๑๐ ซึ่งมีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ปกครองดูแลความสงบ เรียบร้อยของหมู่บ้าน และมีสมาชิกองค์การบริหารส่วนตําบลเป็นผู้บริหาร จัดการกิจการของชุมชน ซึ่งบ้านแม่บวนเหนือมีประชากร ๕๓๑ คน และ บ้านแม่บวนใต้มีประชากร ๕๑๓ คน

จากหนังสือ บ่ะใจ้วันนั้น ก็บ่มีวันนี้

บ้านแม่บวน

Share this post

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

scroll to top