ภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม

๒. ภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม

กลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ที่อยู่ในอำเภอดอยเต่ามีอยู่  ๒  กลุ่ม  คือ  กลุ่มชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง  และกลุ่มคนพื้นเมือง (คนไต) ส่วนมากจะเป็นคนพื้นเมือง  จะเห็นได้ว่าคนดอยเต่าจะมีภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรมที่หลากหลาย    โดยเฉพาะการจักสานเครื่องใช้ในครัวเรือนของพี่น้องชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง  การทอผ้าแบบกะเหรี่ยง  การทำไม้กวาดจากใบป๋มเป้ง  (ปาล์มชนิดหนึ่ง) จะไม่เห็นที่อื่นเขาทำ  จะมีแต่ที่ดอยเต่าที่เดียว  การตีเหล็กทำมีด ทำเสียม    การทอผ้าซี้นตีนจกลายโบราณ  การแกะสลักและการเคี่ยนไม้สักทำโชว์ฟา  การนำรากไม้สักมาทำเครื่องประดับตกแต่งบ้านเรือน  ฯลฯ  ในเวลานี้ขอนำเสนอภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรมไว้เป็นแบบอย่างตามหัวข้อข้างล่างนี้เพื่อเป็นการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม

 

๓. สาขากองทุนหมู่บ้านและธุรกิจชุมชน

         อำเภอดอยเต่าเป็นอำเภอที่อยู่ในชนบทห่างไกลความเจริญ  อาชีพหลัก ๆ  ของคนดอยเต่าส่วนมากคือ   การเกษตร  ทำงานรับจ้างก่อสร้าง   รับจ้างทำงานทั่วไป  รายได้ไม่แน่นอน  ขึ้นอยู่กับราคาพืชผลทางการเกษตรที่พ่อค้าคนกลางกำหนดให้  คนดอยเต่าส่วนมากจึงมีฐานะยากจน ต้องกู้หนี้ยืมสินทั้งในระบบและนอกระบบมาลงทุน  บางครั้งก็ได้  บางครั้งก็เสีย   หาความแน่นอนไม่ได้  ส่วนมากแล้วจะเสียไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร  ต้องเป็นหนี้เป็นสินพะรุงพะรัง  รัฐบาลได้ยื่นมือเข้ามาช่วย  โดยให้เงินทุนหมู่บ้านละล้านบาท  เพื่อจะช่วยให้ราษฎรที่อยู่ในชนบท ได้ลดปัญหาภาระหนี้สินให้เบาบางลง  ณ. ปัจจุบันนี้  ราษฎรยังคงยากจนและยังเป็นหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบอยู่เช่นเดิม  

       ราษฎรส่วนหนึ่งจึงได้รวมกลุ่มกันทำธุรกิจชุมชนขึ้น เพื่อสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัว   ร่วมแรงร่วมใจพัฒนาวัตถุดีบที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้มีมูลค่าสูงขึ้น  สร้างผลิตภัณฑ์ของชุมชนสร้างรายได้ให้กับสมาชิก   หลาย ๆ  กลุ่มประสบผลสำเร็จ  หลาย ๆ  กลุ่มประสบกับความล้มเหลว จึงขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจชุมชนที่ประสบผลสำเร็จเพื่อเป็นแบบอย่างในการดำเนินธุรกิจต่อไป

Share this post

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

scroll to top