ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนดอยเต่า

จังหวัดทางภาคเหนือ แต่ละอำเภอย่อมมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกันบ้างไม่มากก็น้อย ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่แตกต่างกัน ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคเหนือ ในวิถีชีวิตของแต่ละแห่งแต่ละที่ย่อมจะเกิดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่แตกต่างกันไปด้วย   อำเภอดอยเต่าเป็นอำเภอเล็ก ๆ  มีสภาพภูมิอากาศร้อนแห้งแล้ง และมีลักษณะภูมิประเทศที่ราบลุ่มระหว่างภูเขา  คล้ายกับอยู่ก้นแอ่งกะทะ  มีแม่น้ำและลำห้วยที่สำคัญไม่กี่สายที่คอยหล่อเลี้ยงคนดอยเต่า  แม่น้ำที่สำคัญคือ  แม่น้ำปิง  แม่น้ำแม่หาด  แม่น้ำแม่ตูบ  ห้วยแม่ปึ๋ง  ห้วยแม่ก๋องแก๋ง ส่วนลำห้วยอื่น ๆ  จำนวนมากแต่ไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงตลอดปีจึงไม่ค่อยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนดอยเต่ามากนัก  โดยเฉพาะพี่น้องชาวดอยเต่าที่อยู่หมู่บ้านจัดสรรจะไม่มีลำห้วย  ถ้าจะมีลำห้วยก็เป็นลำห้วยที่แห้งขาดน้ำ เนื่องจากหมู่บ้านจัดสรรเป็นหมู่บ้านที่อพยพมาจากที่ราบลุ่มน้ำปิง  เป็นพื้นที่รัฐบาลจัดสรรให้อยู่เป็นแปลง  ชื่อหมู่บ้านจึงได้เรียกตามแปลงที่รัฐจัดให้ เช่น  หมู่บ้านแปลง ๒   หมู่บ้านแปลง  ๔  หมู่บ้านแปลง  ๕  ถ้าเดินทางตามเส้นทางอำเภอฮอด – แม่ตืน  อำเภอลี้ หรือถนนหมายเลข ๑๑๐๓  ด้านทิศตะวันออกของถนนจะมีชื่อหมู่บ้านเป็นเลขคู่   ส่วนหมู่บ้านที่อยู่ทิศตะวันตกของถนน  จะมีชื่อเป็นเลขคี่  การดำเนินชีวิตที่เคยอยู่ริมแม่น้ำปิงที่อุดมไปปลาอาหาร  ต้องอพยพหนีน้ำท่วมเนื่องจากการสร้างเขื่อนภูมิพล ในปี   พ.ศ.  ๒๕๐๗  พี่น้องชาวดอยเต่าบางคนรับไม่ได้  เพราะบริเวณที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นพื้นที่ที่แห้งแล้วกันดาร  ไม่มีน้ำดื่มน้ำใช้  มีลำห้วยแต่เป็นลำห้วยที่ขาดน้ำ  ขืนอยู่ต้องลำบากแน่ ๆ  ครอบครัวที่พอมีเงินมีทองมีช่องทางที่จะไปอยู่ที่อื่นได้  จึงไม่ยอมอยู่หมู่บ้านจัดสรรให้  บางครอบครัวโยกย้ายไปอยู่ต่างอำเภอ  บ้างครอบครัวโยกย้ายไปอยู่ต่างจังหวัด มีทั้งลำพูน  แพร่  นาน  พะเยา  เชียงราย  ฝาง   เชียงดาว ฮอด   จอมทอง  หางดง   แม่สอด  จังหวัดตาก  ฯลฯ จะเห็นได้ว่า  บางหมู่บ้านไม่มี  เช่น  มีหมู่บ้านแปลง  ๕  ไม่มีหมู่บ้านแปลง ๖   หมู่บ้านแปลง ๗  แต่กลับมีหมู่บ้านแปลง  ๑๔  (บ้านน้อยห้วยริน) อย่างเช่น   บริเวณหมู่บ้านแปลง  ๖   เป็นบริเวณที่หมู่บ้านหนองบัวคำต้องอพยพไปอยู่  ชาวบ้านเห็นว่าเป็นพื้นที่ที่แห้งแล้งไม่มีน้ำดื่มน้ำใช้ ชาวบ้านหนองบัวคำจึงตกลงปลงใจแยกย้ายไปอยู่คนละที่คนละแห่ง  ไปหมู่บ้านใหม่ที่  อำเภอลี้  จังหวัดลำพูน  ชื่อบ้านหนองบัวคำ  บางกลุ่มย้ายไปอยู่ทิศตะวันตกแม่น้ำปิง  ชื่อบ้านหนองบัวคำ  บางกลุ่มโยกย้ายไปอยู่ตั้งหมู่บ้านใหม่  ชื่อบ้านแม่กีดสามท่า  อำเภอแม่สอด   จังหวัดตาก  หลายหมู่บ้านหลายครอบครัวที่ไม่มีหนทางที่จะไปหรือชาวร่วมใจกันที่จะไม่หนีจากกัน  จำเป็นต้องอพยพมาอยู่ในพื้นที่จัดสรรตามที่รัฐบาลจัดสรรให้  วิถีชีวิตความเป็นอยู่ย่อมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม  จากการที่ได้อยู่บริเวณที่อุดมไปด้วยพืขพรรณธัญญาหาร  มีข้าวมีปลาอุดมสมบูรณ์  ต้องมาอยู่ที่แห้งแล้งกันดาร  หลายครอบครัวต้องหวานอมขมกลืน ต้องอดอยากปากแห้งจำเป็นต้องให้ลูกให้หลานไปทำงานในต่างถิ่น

        เมื่อชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนแปลงไป ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่เดิมย่อมเปลี่ยนแปลงไปบ้าง  บางสิ่งบางอย่างได้สูญหายไปกับการต้องโยกย้ายถิ่นฐานบ้านช่อง  บางสิ่งบางอย่างต้องนำมาฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ บางสิ่งบางอย่างต้องดัดแปลงคิดค้นขึ้นใหม่ตามวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปไม่เหมือนเดิม ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่พอจะสืบเสาะค้นหามาได้ เพื่อเป็นการศึกษาเรียนรู้  โดยแยกออกเป็นสาขาต่าง ๆ  ได้ดังนี้   คือ
         ๕.  ภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขาศิลปกรรม
         ๖.  ภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขาภาษาและวรรณกรรม
         ๗. ภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขาศาสนาและประเพณี
         ๘.  ภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขาอาหารคาวหวาน

จากข้อมูล: ภูมิปัญญาท้องถิ่นดอยเต่า

Share this post

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

scroll to top